Home » การตรวจคัดกรอง/สุขภาพ
Category Archives: การตรวจคัดกรอง/สุขภาพ
ภัยใกล้ตัว โรคหัวใจรั่ว มีอาการเริ่มต้นอย่างไร ?
‘ลิ้นหัวใจรั่ว’ เกิดจากลิ้นหัวใจที่เคยทำงานได้ดี กลับกลายเสื่อมสภาพลง ทำให้เลือดไหลย้อนกลับทางเดิม ส่งผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้นเพราะต้องสูบฉีดเลือดให้มีความเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยโรคนี้สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการใช้ยาหรือการผ่าตัด อีกทั้งยังสามารถสวมอุปกรณ์เข้าไป เพื่อช่วยให้หัวใจทำงานได้ตามปกติดังเดิม
อาการของ ‘ลิ้นหัวใจรั่ว’
ถ้าการรั่วพึ่งเกิดขึ้นมา ก็จะไม่ปรากฏอาการทางภายนอกให้เห็นออกมาเลย หากแต่อาการเริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น อาการต่างๆ ก็จะปรากฏขึ้นได้ ซึ่งโรคลิ้นหัวใจรั่วมักจะปรากฏอาการ ได้แก่…
- เหนื่อยง่าย มีอาการหอบ สำหรับในช่วงแรกอาจไม่รุนแรงมากเท่าไหร่ หากแต่อาจมีอาการปรากฏขึ้นมา ในระหว่างการออกกำลังกาย หรือ ทำการกิจกรรมต่างๆ แต่ถ้าอาการเพิ่มระดับมากขึ้น ก็จะทำให้เหนื่อยง่าย ถึงแม้จะอยู่ในช่วงพักก็ตาม สำหรับอาการนี้ก็มีสาเหตุมาจาก เลือดและของเหลวภายในหลอดเลือดที่อยู่ในปอดเข้าไปคั่งค้างอยู่ภายใน
- มักมีอาการวิงเวียนศีรษะ เป็นลมอยู่บ่อยครั้ง
- เจ็บปวดบริเวณหน้าอก โดยลามไปยังแขนข้างซ้าย หรือบริเวณหน้าท้อง โดยเกิดขึ้นจากการที่ โลหิตของหลอดเลือดหัวใจลดลง
- รู้สึกหัวใจเต้นผิดปกติ มีอาการใจสั่น
- ปรากฏอาการบวมที่บริเวณเท้าและข้อเท้า
โดยคุณสามารถสังเกตได้จากอาการที่เกิดขึ้นตามที่เราได้กล่าวมา เพราะฉะนั้นถ้าคุณมีอาการเหล่านี้ แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจโดยทันที
สาเหตุของโรคลิ้นหัวใจรั่ว
สำหรับ ‘โรคลิ้นหัวใจรั่ว’ อันเนื่องมาจากความผิดปกติของหัวใจ ซึ่งสามารถเกิดจากโรคซึ่งติดตัวมาตั้งแต่กำเนิด โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่…
- สาเหตุปฐมภูมิ จัดเป็นสาเหตุของโรคลิ้นหัวใจรั่ว ส่งผลให้ลิ้นหัวใจทำงานได้อย่างไม่เต็มความสามารถ อีกทั้งยังปิดไม่สนิทขณะกำลังสูบฉีดเลือด ทำให้ผู้ป่วยเหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม
- สาเหตุทุติยภูมิ โรคนี้เกิดขึ้นมาจากโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ติดขัด เลือดไม่ไหลลื่น ทำให้ลิ้นหัวใจทำงานผิดปกติ สำหรับสาเหตุที่พบได้บ่อย ก็คือ ลิ้นหัวใจยาว, เนื้อเยื่อเสียหาย ,ไข้รูมาติก, โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด รวมทั้งโรคอื่นๆ อีกมากมาย หรือ อาจเกิดจากการอาการบาดเจ็บ, การใช้ยา รวมทั้งการรักษาด้วยรังสี เป็นต้น
การป้องกันโรคลิ้นหัวใจรั่ว
เฉกเช่นเดียวกันกับโรคหัวใจประเภทอื่นๆ โดยโรคลิ้นหัวใจรั่วป้องกันได้ ด้วยการลดความเสี่ยงที่จะกระทำต่อโรคหัวใจ ด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ, รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เหมาะสมตามวัย และลดอาหารที่ไม่มีประโยชน์ รวมทั้งพยายามควบคุมความเสี่ยงอันเกิดจากโรคอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
Magnetoencephalography (MEG) คืออะไรและมีประโยชน์อย่างไรบ้าง
วิวัฒนาการทางการแพทย์คือจุดเด่นอย่างหนึ่งที่ทำให้คนเราทุกวันนี้มีสุขภาพที่ดีมากขึ้นกว่าแต่ก่อน เราสามารถวิเคราะห์โรคต่างๆ ได้ง่ายมากขึ้นพร้อมกับหาวิธีการรักษาได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แม้บางโรคจะยังไม่มีวิธีการรักษาที่หายขาดแต่เราก็สามารถทำให้คนยังมีชีวิตอยู่ได้แม้จะมีโรคนั้นๆ ในร่างกายก็ตาม ซึ่งวิวัฒนาการทางการแพทย์เหล่านี้ล้วนแล้วแต่สร้างประโยชน์ให้กับคนบนโลกมนุษย์มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน เมื่อพูดถึงวิวัฒนาการทางการแพทย์สิ่งหนึ่งที่คนอาจยังไม่รู้จักก็คือสิ่งที่เรียกว่า Magnetoencephalography (MEG) เพราะหากไม่ใช่คนที่อยู่ในวงการนี้หรือคนที่เคยรับการตรวจด้วยลักษณะแบบนี้จะไม่เคยได้ยินอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นลองมาทำความรู้จักว่า Magnetoencephalography (MEG) คืออะไรกันแน่
ทำความรู้จักกับ Magnetoencephalography (MEG)
Magnetoencephalography (MEG) เป็นเทคนิคด้านการสร้างภาพที่วัดสนามแม่เหล็กอันเกิดจากการทำงานทางไฟฟ้าของสมองผ่านตัวอุปกรณ์วัดที่มีความไวสูง เช่น superconducting quantum interference device (SQUID) โดยการทำ Magnetoencephalography (MEG) ช่วยให้เราสามารถวัดการทำงานด้านไฟฟ้าของเซลล์ประสาทได้โดยตรงเมื่อเทียบกับ IMRI ที่จะใช้สำหรับการวัดออกซิเจนในเลือด มีลักษณะความคมชัดทางกาลเวลาที่สูงมาก ทว่ากลับมีความคมชัดทางด้านพื้นที่ที่ต่ำมากเช่นกัน ข้อดีของการวัดสนามแม่เหล็กอันเกิดจากการทำงานของเซลล์ประสาทก็คือสัญญาณมักจะบิดเบือนไปจากเนื้อเยื่อรอบๆ โดยเฉพาะบริเวณกะโหลกและหนังศีรษะน้อยกว่า เมื่อเทียบกับการวัดสนามไฟฟ้าโดยการบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง หรือ EFG นั่นแสดงให้เห็นภาพที่ชัดเจนว่าสนามแม่เหล็กอันเกิดจากการทำงานทางไฟฟ้าไม่ได้รับผลใดๆ ทั้งสิ้นจากเนื้อเยื่อรอบๆ ศีรษะ หากมีการสร้างแบบจำลองของศีรษะให้สมมุติว่าเป็นเซตของลูกบอลกลมๆ เซตหนึ่ง บอลแต่ละลูกจะถือว่าเป็นตัวนำไฟฟ้าแบบเท่ากันทุกทิศทาง หรือ isotropic homogeneous conductor แต่ในความเป็นจริงแล้วหนังศีรษะไม่ได้มีลักษณะกลมจริงๆ รวมไปถึงมีการนำไฟฟ้าแบบไม่เท่ากันที่เรียกว่า แอนไอโซทรอปิก โดยเฉพาะตรงบริเวณเนื้อขาวกับกะโหลกแม้การนำไฟฟ้าในแบบแอนไอโซทรอปิกจะมีผลที่มองข้ามได้สำหรับ MEG ซึ่งไม่เหมือน EEG ทว่าการนำไฟแบบแอนไอโซรทอปิกของเนื้อขาวก็มีผลต่อการใช้ MEG วัดจุดที่อยู่ลึก
ทว่าให้ลองสังเกตงานศึกษานี้ สมมุติวงกะโหลกเป็นตัวนำแบบแอนไอโซทรอปิกอย่างเท่ากันทุกที่ซึ่งไม่จริง คือ ทั้งความหนาสัมบูรณ์และความหนาสัมพัทธ์ของชั้น diploe และกระดูกเนื้อแน่นต่างๆ ทั้งในกระดูกกะโหลกชิ้นเดียวกันและต่างกัน ทำให้ความเป็นแอนไอโซทรอปิกของกะโหลกจึงน่าจะมีผลต่อ MEG แม้อาจไม่ใช่ในระดับเดียวกันต่อ EEG จริงแล้ว MEG มีประโยชน์มากรวมถึงการช่วยศัลยแพทย์ต่อการระบุจุดของโรค ช่วยนักวิจัยกำหนดหน้าที่ต่างๆ ของสมอง ให้ข้อมูลป้อนกลับเกี่ยวกับสมองสำหรับการฝึกสมองและอื่นๆ
Magnetic Resonance Imaging คืออะไร
Magnetic Resonance Imaging หรือเรียกย่อๆว่า MRI คือ เครื่องสำหรับตรวจอวัยวะภายในของร่างกายโดยสร้างภาพออกมาได้เสมือนจริง ซึ่งใช้หลักการของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพลังงานสูง ร่วมกับเคลื่นวิทยุพลังงานสูง ในการสร้างเป็นภาพ ทำให้ได้รายละเอียดและภาพความคมชัด ส่งผลให้แพทย์สามารถที่จะมองเห็นจุดที่เกิดการผิดปกติของอวัยวะต่างๆได้อย่างชัดเจนมากขึ้น และไม่ทำให้ผู้ที่ได้รับการตรวจเกิดอันตรายใดๆ
การตรวจด้วย MRI ต่างจาก CT scan อย่างไร
ความแตกต่างของทั้งสองประเภทคือการใช้รังสีคนละชนิดกัน MRI เป็นคลื่นแม่เหล็กและคลื่นวิทยุ แต่ CT scan เป็นการใช้รังสีเอ็กซ์ ส่งผลต่อเรื่องการให้ภาพ จะมีลักษณะแตกต่างกันในบางอวัยวะ/เนื้อเยื่อ ซึ่ง MRI จะให้ความละเอียดสูงและได้ผลที่แม่นยำกว่า แต่ในขณะเดียวกันค่าใช้จ่ายในการตรวจก็จะสูงตามไปด้วย ดังนั้นความเหมาะสมในการเลือกตัว MRI หรือ CT scan จะต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์เป็นหลัก
ข้อดีของการตรวจ MRI
- สามารถตรวจได้ทั้งตัวโดยที่ไม่ต้องเคลื่อนย้ายหรือเปลี่ยนท่าทางของผู้ป่วย
- มีคุณสมบัติพิเศษในการจำแนกเนื้อเยื่อที่แตกต่างกันได้หลายแบบ แลละตรวจความผิดปกติในระยะเริ่มต้นได้
- ปราศจากรังสีเอ็กซ์ที่จะเกิดอันตรายต่อร่างกาย ฉะนั้นจึงสามารถตรวจในหญิงที่ตั้งครรภ์ได้ในช่วง 6 – 9 เดือน หากแพทย์วินิจฉัยว่ามีข้อบ่งชี้ที่เหมาะสม แต่ควรหลีกเลี่ยงการตรวจในระยะการตั้งครรภ์ช่วง 3 เดือนแรก
- ตรวจได้ละเอียดถึงเนื้อเยื่ออ่อนที่อยู่ภายในกระดูก
- สามารถตรวจหาเนื้องอกหรือมะเร็งเบื้องต้นได้
- ตรวจหาต้นเหตุของการปวดศีรษะเรื้อรัง
- ตรวจเช็คการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด
อาการของผู้ที่ควรรับการตรวจ MRI
- เกิดอาการปวดหัว แขนขาอ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่ง หรือมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง
- เกิดอาการเป็นลมหมดสติบ่อยๆ เกิดความจำเสื่อม คลื่นไส้อาเจียน สับสน
- เกิดอาการปากเบี้ยว ลักษณะของหนังตาตก หรือลิ้นชาแข็ง
- เกิดอาการปวดหลังไม่หาย
- เกิดอาการขาไม่มีแรงทั้งสองข้าง
- เกิดอาการสมรรถเพศลดลง
- เกิดอาการหอบเหนื่อย รู้สึกหายใจไม่อิ่มหรือไม่ทั่วท้อง ไอเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ เจ็บหน้าอก
- เเกิดอาการปวดท้องน้อยบ่อยๆ มีอาการเลือดออกจากในช่องคลอด ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขัด
ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นแค่ตัวอย่างของผู้ป่วยที่ควรมาได้รับการตรวจด้วยเครื่อง MRI อย่างละเอียด เพื่อที่แพทย์จะได้วินิจฉัยและทำการรักษาโรคได้อย่างถูกต้อง
ถึงแม้การตรวจด้วย MRI ทั่วทั้งร่างกาย จะมีราคาค่อนข้างสูง แต่ถ้าหากเทียบกับผลที่ได้รับอันมีประโยชน์โดยตรงต่อการรักษาก็ถือว่าคุ้มค่าไม่ใช่น้อย ยิ่งเป็นอวัยวะที่อยู่ภายในร่างกายซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ ก็จะสามารถทำให้ตรวจรักษาในเบื้องต้นได้ก่อนคะ
Computer Tomography มีความสำคัญอย่างไร ??
ก่อนอื่นเราจำเป็นต้องรู้ก่อนว่า Computer Tomography Scan หรือเรียกสั้นๆว่า CT Scan คืออะไร ซึ่งก็คือการตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ โดยแพทย์จะทำการฉายรังสีเอกซเรย์เข้าไปตามร่างกายบริเวณที่ต้องการตรวจ แล้วคอมพิวเตอร์จะทำการสร้างภาพแสดงลักษณะอวัยวะภายในร่างกาย เพื่อนำภาพที่ได้มาประกอบการวินิจฉัยหาความผิดปกติที่เกิดขึ้นในร่างกายเป็นขั้นต่อไป ซึ่งวิธีการใช้ CT scan นี้จะได้ภาพที่มีความละเอียดสูงกว่าการใช้วิธีเอ็กซเรย์แบบธรรมดาทั่วไปและสามารถนำไปใช้ตรวจอวัยวะภายในร่างกายได้เกือบทุกส่วน
CT Scan มีประเภทอะไรบ้าง ???
- เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ในรูปแบบภาพตัดขวางพื้นฐาน (Convention CT Scan) ซึ่งตัวเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จะหมุนเป็นลักษณะวงกลมรอบตัวผู้ป่วย เพื่อที่รังสีเอกซเรย์จะได้ผ่านตัวผู้ป่วย 1 รอบ ทำให้ได้ภาพ 1 ภาพ โดยเตียงจะค่อยๆเคลื่อนไปทีละตำแหน่ง หลังจากนั้นนำภาพที่ได้มาสร้างเป็นภาพตัดขวางของอวัยวะได้ทีละภาพ
- เอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบเกลียว (Spiral/Helical CT Scan) ตัวเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จะหมุนเป็นวงรอบตัวผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ทำให้เมื่อรังสีผ่านตัวผู้ป่วยจะได้ภาพหลายภาพ ข้อดีของประเภทนี้ก็คือใช้เวลาน้อยกว่าแบบภาพตัดขวางพื้นฐาน ประกอบกับได้ภาพที่มีความแม่นยำสูงกว่าอีกด้วย
สาเหตุที่ต้องทำ CT Scan โดยส่วนมากแพทย์จะเป็นผู้แนะนำผู้ป่วยทำ CT Scan เมื่อเจอกรณี ดังนี้
- ตรวจและวินิจฉัยอาการป่วย : เช่น การตรวจหาอาการบาดเจ็บหรือความเสียหายของอวัยวะภายใน, ภาวะเกิดมีเลือดออกที่อวัยวะภายใน, การไหลเวียนของเลือดผิดปกติ, การเกิดลิ่มเลือด, รอยแตกร้าวของกระดูก, การเกิดเนื้องอกตามจุดต่างๆในร่างกาย เป็นต้น
- ติดตามรักษาอาการป่วย : ทั้งช่วงที่อยู่ในระหว่างการหลังษาและหลังจากรักษาไปแล้ว เช่น การตรวจดูขนาดของก้อนเนื้องอกต่ามจุดต่างๆ, ตรวจวัดผลดูหลังจากการรักษามะเร็ง
ข้อดีของการทำ CT Scan
- สามารถตรวจสอบอวัยวะภายในร่างกายส่วนใหญ่ได้
- ไม่เกิดผลกระทบความเจ็บปวดอะไรในร่างกายขณะกำลังสแกน
- ทำใหการวินิจฉัยของแพทย์แม่นยำขึ้น เพราะภาพที่ได้จะชัดเจนละเอียดสูงกว่าการทำอัลตราซาวนด์
- ใช้เวลาสแกนได้รวดเร็วกว่าหากเมื่อเปรียบเทียบกับการแสแกนแบบ MRI
ข้อเสียของการทำ CT Scan
- การแปลผลเอกซเรย์อาจเกิดข้อผิดพลาดได้หากมีวัตถุแปลกปลอมเข้าไปรบกวนการทำงานของเครื่อง เช่น เครื่องประดับต่างๆ หรือโครงเหล็กเสื้อชั้นในของสตรี
- ความไม่เข้าใจถึงข้อปฎิบัติของผู้ป่วยในช่วงขณะสแกน เช่นต้องกลั้นหายใจ ซึ่งผู้ป่วยบางรายไม่เข้าใจว่าจะต้องทำอย่างไร
- ในขณะทำ CT Scan ตรงบริเวณสมอง อาจเกิดข้อผิดพลาดได้คือ สแกนโดนกระดูกส่วนกะโหลกศีรษะบังทำให้แปลผลคาดเคลื่อน
- CT Scan ต้องใช้ปริมาณรังสีมาก อาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาที่เกี่ยวกับสุขภาพจากการที่ต้องรับรังสีมากจนเกินไป
ประโยชน์ของการอัลตร้าซาวด์ช่วงท้อง
การตรวจอัลต้าซาวด์ ก็คือการตรวจโดยอาศัยคลื่นความถี่สูงเกินกว่าความสามารถของหูมนุษย์จะได้ยิน ส่งเป็นคบื่นเสียงผ่านการตรวจไปยังเนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่ต้องการจะตรวจ เมื่อคลื่นเสียงไปกระทบกับเนื้อเยื่อภายในร่างกายก็จะเกิดการหักเหสะท้อนกลับมาสู่เครื่องตรวจที่แตกต่างกัน จากนั้นเครื่องจะนำคลื่นเสียงที่ได้มาแปลเป็นภาพได้ทั้งแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ เสมือนการถ่ายรูป จึงมักนิยมมาใช้ในการตรวจช่วงท้อง เช่นตรวจทารกในครรภ์ เป็นต้น
ข้อดีของการตรวจอัลตร้าซาวด์ช่วงท้องทั้งส่วนบนและส่วนล่าง ก็เพื่อให้แพทย์สามารถเห็นความผิดปกติของอวัยวะที่อยู่ภายใน ซึ่งจะสามารถบ่งชี้ได้ว่าผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาเกี่ยวกับอะไรบ้าง อย่างเช่น
- ตับ : ตรวจดูเนื้องอกหรือเซลล์มะเร็งที่มีการแพร่กระจายจากอวัยวะส่วนอื่นมายังตับ ดูขนาดของตับ ดูภาวะผิดปกติ เช่น การเกิดภาวะตับแข็ง
- ถุงน้ำดี : ตรวจหาถุงน้ำดีว่ามีอาการอักเสบ มะเร็ง และเนื้องอกอื่นๆที่เกิดขึ้นในถุงน้ำดี
- ท่อน้ำดี : ตรวจดูว่ามีการอุดตันจากนิ่ว หรือมีเนื้องอก มะเร็ง การตีบตัน หรือโป่งพอง ซึ่งสาเหตุอาจมาจากความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด
- ตับอ่อน : ดูว่าเกิดเนื้องอก มะเร็ง ภาวะตับอ่อนอักเสบ หรือตรวจหานิ่วในท่อตับอ่อน
- ม้าม: ดูขนาดของม้าม และกรณีที่เกิดอุบัติเหตุตรวจดูว่ามีการฉีดขาดด้วยหรือไม่
- ไต : เพื่อตรวจหานิ่วในเนื้อไต และท่อไต วัดขนาดไตของผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคไตวาย ไตอักเสบอันเป็นความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด
- ตรวจดูความผิดปกติของอวัยวะบริเวณอุ้งเชิงกราน มดลูก ต่อมลูกหมาก ตรวจดูว่ามีเนื้องอกในมดลูกและรังไข่
- ในสตรีมีครรภ์ ก็จะตรวจดูการเจริญเติบโตของทารก ตรวจหาอายุครรภ์ ดูตวามสมบูรณ์ของรก และดูเพศของทารก
การเตรียมตัวก่อนจะทำอัลตร้าซาวด์
แพทย์จะเป็นผู้นัดให้ผู้ป่วยเข้ามาทำอัลตร้าซาวด์ในกรณีที่แพทย์นัดช่วงเช้า ผู้ป่วยจะต้องงดอาหาร ยา เครื่องดื่มทุกชนิดหลังเที่ยงคืนหรือก่อนเวลานัดอย่างน้อย 6 ชม. แต่ถ้าหากนัดเป็นช่วงบ่าย ผู้ป่วยจะต้องรับประทานแต่อาหารอ่อนและหลัง 8.00 น. คืองดอาหาร ยา เครื่องดื่มทุกชนิด การตรวจบริเวณอุ้งเชิงกราน ผู้ป่วยสามารเลือกได้ว่าจะตรวจผ่านทางหน้าท้อง หรือว่าตรวจทางช่องคลอด เพราะถ้าผ่านหน้าท้องต้องตรวจปัสสาวะขณะตรวจและต้องกลั้นปัสสาวะจนกว่าจะตรวจเสร็จ ซึ่งต้องอาศัยน้ำในกระเพาะปัสสาวะเป็นตัวกลางส่งผ่านเสียงไปยังอวัยวอื่นๆที่อยู่ในอุ้งเชิงกรานส่วนที่อยู่หลังกระเพาะปัสสาวะด้วย
การอัลตร้าซาวด์มีอันตรายหรือไม่
ในการทำอัลตร้าซาวด์จะไม่มีอันตรายใดๆหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อผู้ป่วย รวมทั้งทารกที่อยู่ในครรภ์ด้วย จึงสามารถทำอัลตร้าซาวด์ได้หลายครั้งในระหว่างการตั้งครรภ์